วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานเดือนสิบ

งานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช
งานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ๒๕๕๐ เทิดไท้ ๘๐ พรรษามหาราชา  วิถีไทย หัวใจแผ่นดิน       จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงานงานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ๒๕๕๐ เทิดไท้ ๘๐ พรรษามหาราชาขึ้น ในระหว่างวันที่ 5 
4 ตุลาคม 2550 ณ บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) และศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันงานที่ยิ่งใหญ่มีการแห่หมรับถือได้ว่าเป็นหัวใจของงานที่มีสีสันตระการตา ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมงานบุญประเพณีที่เต็มไปด้วยศรัทธาและความยิ่งใหญ่ อีกทั้ง เป็นการแสดงความกตัญญุตาต่อบุพการีและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

ความเป็นมาของงานเทศกาลเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช

     “งานเทศกาลเดือนสิบ” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี  พ.ศ. 2466 ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้าราชการ ซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก  จำรูญ(เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร  และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้นโดยได้จัดกำหนดเอางานทำบุญเดือนสิบมาจัดเป็นงานประจำปี  พร้อมทั้งมีการออกร้าน  และมหรสพต่างๆโดยมีระยะเวลาในการจัดงาน 3 วัน 3 คืน  จนกระทั่งถึงปี  พ.ศ. 2535 ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงานจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  84 (ทุ่งท่าลาด)  ซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ไว้อย่างสวยงาม  รวมทั้งได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานไปจากเดิมหลายประการ
            การจัดเทศกาลงานเดือนสิบถือเป็นความพยายามของมนุษย์ที่มุ่งทดแทนพระคุณบรรพบุรุษแม้ว่าจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคนควรต้องยึดถือปฏิบัติรวมทั้งปลูกฝังให้อนุชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ ไป อย่างน้อยหากมนุษย์ระลึกถึงเรื่องเปรตก็จะสำนึกถึงบาปบุญคุณโทษ  รวมทั้งการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวที ที่เป็นหัวใจสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขตลอดไป



องค์พระธาตุนครศรีธรรมราช


งานเดือนสิบ เป็นงานสำคัญในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนิกชนในเรื่องกฏรม ผู้ที่สร้างบาปกรรมไว้มาก เมื่อตายไปจะกลายเป็นเปรตทนทุขเวทนาชดใช้บาปกรรมนั้น เมื่อถึงวันสารท ชาวบ้าน จึงจัดสำรับคาวหวานไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เรียกกันว่ากาแห่งกรรทำบุญสารทเดือนสิบ หรือ การยกหฺมฺรับ (อ่านว่ายก-หมับ) การจัดหฺมฺรับไปทำบุญที่วัดนั้น จะประกอบไปด้วยขนม 5 อย่าง ได้แก่
ขนมลา เปรียบเสมือนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
ขนมพอง เปรียบเสมือเป็นยานพาหนะให้ผู้ล่วงลับได้ใช้เป็นแพข้ามสู่ภพภูมิใหม่
ขนมกง อุทิศเป็นเครื่องประดับ
ขนมดีซำ อุทิศเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
ขนมบ้า สำหรับวิญญาณผู้ล่วงลับจะได้ใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์

ความเชื่อเกี่ยวกับงานเดือน




 ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แ่ก่ ปู่ย่าตายา่ย และญาติพี่น้องที่  ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสรรค์ แต่หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี   ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุิทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลายญาติพี่น้องและจะกลับไปนรกในวันแรม ๑ ค่ำเดืิอนสิบโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงกตัญญูกตเวที
      วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก





วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทหาร[Image]จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอันน่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงอาจพิจารณาให้ลบ [Image][Image]ทหารในประเทศเคนยาทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม[แก้]ทหารในประเทศไทยทหารในประเทศไทย จำแนกออกเป็น 3 เหล่าทัพ ได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ[แก้]ทหารประเภทอื่นๆทหารราบ คือทหารเข้าดำเนินกลยุทธ์ในการรบโดยใช้อำนาจการยิงจากอาวุธในอัตราโดยส่วนมากจะเป็นอาวุธประจำกาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ และทำลายข้าศึก มีขีดสามารถเคลื่อนที่โดยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ทหารม้า คือทหารซึ่งเข้าทำการรบโดยใช้พาหนะเป็นหลัก มีอำนาจการยิงสูงและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ในอดีตใช้ม้า ปัจจุบัน ใช้รถถัง ยานเกราะแบบต่างๆ ทหารปืนใหญ่ คือทหารที่ใช้ปืนใหญ่ รวมถึงปืนต่อสู้อากาศยานดำเนินยิงต่อที่หมายกำหนดเพื่อทำลายข้าศึกและสนับสนุนทหารเหล่าอื่นๆ ทหารรบพิเศษ คือทหารที่รับภาระกิจพิเศษต่างๆ โดยมากจะเป็นการรบนอกแบบ เช่นสงครามกองโจร การกระโดดร่ม การจู่โจม เป็นต้น ทหารสื่อสาร คือทหารที่ดูแลเรื่องการสื่อสารในการรบ ทหารช่าง คือทหารที่ทำการก่อสร้างงานด้านวิศวกรรมต่างๆ เช่น สะพาน และการทำลายสิ่งกีดขวาง และการสงครามทุ่นระเบิด ทหารเสนารักษ์คือทหารที่มีวิชาทางการแพทย์เพื่อรักษาทหารและพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บในการรบ ทหารกองโจร หมายถึง กลุ่มทหารเล็กๆ ที่มีความชำนาญพิเศษในการรบแบบซุ่มโจมตีหลังแนวข้าศึก ทหารเกณฑ์ คือทหารที่ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร ทหารรับจ้าง คือทหารที่รับจ้างทำการรบ เช่น กองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส (French Foreign Legion) หรือ ทหารรับจ้างอิตาลี (Condottieri) [Image]คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ทหาร[Image]จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอันน่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงอาจพิจารณาให้ลบ [Image][Image]ทหารในประเทศเคนยาทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม[แก้]ทหารในประเทศไทยทหารในประเทศไทย จำแนกออกเป็น 3 เหล่าทัพ ได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ[แก้]ทหารประเภทอื่นๆทหารราบ คือทหารเข้าดำเนินกลยุทธ์ในการรบโดยใช้อำนาจการยิงจากอาวุธในอัตราโดยส่วนมากจะเป็นอาวุธประจำกาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ และทำลายข้าศึก มีขีดสามารถเคลื่อนที่โดยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ทหารม้า คือทหารซึ่งเข้าทำการรบโดยใช้พาหนะเป็นหลัก มีอำนาจการยิงสูงและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ในอดีตใช้ม้า ปัจจุบัน ใช้รถถัง ยานเกราะแบบต่างๆ ทหารปืนใหญ่ คือทหารที่ใช้ปืนใหญ่ รวมถึงปืนต่อสู้อากาศยานดำเนินยิงต่อที่หมายกำหนดเพื่อทำลายข้าศึกและสนับสนุนทหารเหล่าอื่นๆ ทหารรบพิเศษ คือทหารที่รับภาระกิจพิเศษต่างๆ โดยมากจะเป็นการรบนอกแบบ เช่นสงครามกองโจร การกระโดดร่ม การจู่โจม เป็นต้น ทหารสื่อสาร คือทหารที่ดูแลเรื่องการสื่อสารในการรบ ทหารช่าง คือทหารที่ทำการก่อสร้างงานด้านวิศวกรรมต่างๆ เช่น สะพาน และการทำลายสิ่งกีดขวาง และการสงครามทุ่นระเบิด ทหารเสนารักษ์คือทหารที่มีวิชาทางการแพทย์เพื่อรักษาทหารและพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บในการรบ ทหารกองโจร หมายถึง กลุ่มทหารเล็กๆ ที่มีความชำนาญพิเศษในการรบแบบซุ่มโจมตีหลังแนวข้าศึก ทหารเกณฑ์ คือทหารที่ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร ทหารรับจ้าง คือทหารที่รับจ้างทำการรบ เช่น กองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส (French Foreign Legion) หรือ ทหารรับจ้างอิตาลี (Condottieri) [Image]คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ: